แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sittikop เมื่อ 2013-1-31 23:54
ก่อนอื่นขออธิบายหลักการทำงานของเหล็กกันโคลง หรือ Stabilizerให้เข้าใจกันพอสังเขปก่อนนะครับ เมื่อท่านเข้าใจหลักการทำงานแล้วท่านจะเข้าใจได้เองว่า เหล็กกันโครงหลังที่มีขายกันทั่วไป แบบไหนที่เราควรจะเลือกซื้อมาติดตั้ง
คำว่า“เหล็กกันโคลง” หรือ “Stabilizer Bar” มาจากคำว่า Stable ที่แปลว่ามั่นคง วิศวกรเค้าออกแบบและติดตั้งสำหรับช่วงล่างที่เป็นอิสระซ้าย-ขวาแยกจากกันครับ เนื่องจากช่วงล่างที่เป็นอิสระแยกซ้าย-ขวาเวลาล้อข้างใดข้างหนึ่งยุบตัวลงมาก
แต่อีกข้างยังไม่ยุบเลย รถจะเสียการทรงตัวเช่นการเข้าโค้งแรงๆ เป็นต้น
จากภาพด้านบนเหล็กกันโคลง คือชิ้นส่วนหมายเลข 3 ครับ ทำจากวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำเหล็กสปริงสามารถบิดและคืนตัวได้ ในภาพเป็นเหล็กกันโคลงสำหรับล้อหน้าครับ ผมขอเปรียบรูปร่างของเหล็กกันโคลงเหมือนตัวU ที่มีท้องตัว U ยาวๆ นะครับส่วนแขนที่มาต่อกับก้านต่อหมายเลข 1 ผมจะเรียกว่าแขนกันโคลงนะครับ การติดตั้งจะต้องติดตั้งให้ส่วนที่เป็นท้องตัว U ยึดติดกับโครงสร้างของรถและยึดด้วยชิ้นส่วนสีม่วง 2 จุด ตามภาพ เมื่อยึดแล้วแขนกันโคลง ด้านซ้ายและขวา ก็จะถูกยึดเข้ากับจุดที่สามารถขยับขึ้น-ลงของล้อซ้ายและขวา และควรเป็นจุดที่มีการขยับขึ้น-ลงได้มากๆ ด้วย ในที่นี้อาจจะเป็นปีกนกบน หรือล่างหรือจุดที่เป็นจุดต่อระหว่างปีกนกบนกับล่างเหมือนในภาพด้านบนก็ได้ครับ ถ้ายังไม่ไปยึดกับปีกนกบนตามภาพ เราสามารถใช้มือขยับแขนกันโคลง ขึ้นลงได้ครับ ถ้าเรายกแขนด้านซ้ายขึ้นแขนด้านขวา ก็ยกตามขึ้นมา (เพราะมันเป็นเหล็กชิ้นเดียวกัน)ถ้าเรากดแขนด้านซ้ายลง แขนด้านขวา ก็จะกดตามมาเช่นกัน คราวนี้ลองจินตนาการ ว่ามันถูกต่อเข้ากับปีกนกบน ด้วยก้านต่อหมายเลข 1 ทั้งซ้ายและขวาแล้วนะครับ กรณีที่เราขับรถเข้าโค้งซ้าย คอล์ยสปริงล้อขวาจะถูกกดหรือยุบลงและก็จะกดแขนกันโคลงขวาให้ยุบลงด้วย แต่ล้อซ้าย สปริงจะยืดออกเพราะรถจะพยายามเทออกไปทางขวาด้วยแรงเหวี่ยง แต่ด้วยแขนกันโคลงขวาที่ถูกกดลง จึงส่งผลมาที่แขนกันโคลงซ้ายให้ถูกกดลงด้วยเช่นกัน ทำให้สปริงด้านซ้าย ถูกบล็อกไม่ให้ยืดออก ตัวถังรถจึงไม่เทไปทางขวามากเกินไปไงครับ
สำหรับช่วงล่างหลังของ BT หรือ Ranger เป็นแบบคานแข็งและใช้แหนบแทนคอล์ยสปริง ซึ่งมีระยะการยุบ-ยืด ของแหนบ ค่อนข้างน้อย เวลารถเข้าโค้ง จึงไม่เกิดการยุบตัวที่แตกต่างกันมากนักครับ แต่ถ้าจะติดเหล็กกันโคลง เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความมั่นใจในการเข้าโค้งให้ถึง 200% ล่ะก็ สามารถทำได้ครับแต่ขอให้ยึดหลักการทำงานที่ถูกต้องของเหล็กกันโคลง อยู่ 2 ประการคือ 1.ท้องตัว U ต้องยึดติดกับโครงสร้างของรถที่ไม่เคลื่อนที่ 2.แขนกันโคลง ด้านซ้ายและขวาจะต้องยึดเข้ากับจุดที่สามารถขยับขึ้น-ลง ของล้อซ้ายและขวาได้มากๆ
คราวนี้ มาดูกันว่า เหล็กกันโคลงหลังที่มีขายกันอยู่ตอนนี้ เข้าข่ายคุณสมบัติ 2 ข้อ ที่กล่าวไว้หรือเปล่า เปล่าเลยครับ ออกแบบมาให้ติดตั้งสวนทางกับ Concept ที่ผมอธิบายไว้ข้างต้นอย่างสิ้นเชิงดังนี้ 1.ท้องตัว U ดันไปยึดติดกับเพลาหลังซะนี่ซึ่งเพลาหลัง เป็นจุดที่เคลื่อนที่ขึ้น-ลงของระบบกันสะเทือนหลังควรจะนำแขนกันโคลงมาติดที่ปลายทั้งสองข้าง ของเพลาหลังต่างหากการติดตั้งแบบในภาพด้านบน เวลารถเข้าโค้งซ้าย แหนบขวาจะยุบ ส่วนแหนบซ้ายยืดแต่เพลาทั้งแถบจะอยู่กับที่ครับ นี่แสดงให้เห็นว่า ท้องตัว U ที่ติดกับเพลาหลัง ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรเลย มันติดเอาไว้ให้ดูสวยงามเฉยๆ 2.แขนกันโคลง ดันไปยึดติดกับแชสซีส์ แล้วมันจะเอาอะไรไป Sense ล่ะครับ ในเมื่อตัวมันเองถูก Fix อยู่กับที่
มาถึงตรงนี้ ผมก็ไปต่อไม่ถูกแล้วครับ...จบแต่เพียงเท่านี้ดีกว่า รอท่านอื่นมาเฉลยบ้าง555 |